แลนดี้ โฮม จับมือกับจุฬาฯ ศึกษาพัฒนา “บ้านสีเขียว”

แลนดี้ โฮม จับมือกับจุฬาฯ ศึกษาพัฒนา “บ้านสีเขียว” เผยแบบบ้าน MODISH 211 ช่วยลดผลกระทบต่ออายุขัยได้ดีกว่าแบบบ้านอื่นถึง 34% พร้อมพัฒนาการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ 

บริษัท แลนดี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมือกับศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีความยั่งยืนในสถาปัตยกรรม (Center of Excellence on Green Tech in Architecture) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาพัฒนาโครงการ “บ้านสีเขียว” เพื่อเป็นแนวทางในการลดผล

กระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการสร้างบ้าน ครบทั้งวัฏจักรวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน,การออกแบบ,การก่อสร้าง ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลดีต่อธุรกิจ และชุมชน อันเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนาการก่อสร้างที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) 

การศึกษาดังกล่าว ใช้ระยะเวลากว่า 6 เดือน ในการรวบรวบข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบ้านตัวอย่างหลากหลายแบบ ประกอบด้วย

  • แบบบ้าน Modish 211 ขนาดพื้นที่ 239 ตารางเมตร
  • แบบบ้าน Modish 211 ขนาดพื้นที่ 262 ตารางเมตร
  • แบบบ้าน Neo Deluxe 02 ขนาดพื้นที่ 290 ตร.ม. 
  • แบบบ้าน Neo Deluxe 02 ขนาดพื้นที่ 275 ตารางเมตร 

โดยผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Emissions) ในแต่ละแบบบ้านที่บริษัทฯ ดำเนินการก่อสร้าง

การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการเปรียบเทียบผลกระทบโดยรวมในหลากหลายมิติ ประกอบด้วย

  • การสำรวจวัสดุเหลือทิ้งหรือวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้
  • ผลกระทบจากการขาดแคลนทรัพยากร
  • ผลกระทบขั้นปลายต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ดัชนีวัดสถานะสุขภาพของประชากร
  • ผลกระทบต่อการเกิดสภาวะโลกร้อน 
  • ผลกระทบจากการเกิดอนุภาคขนาดเล็ก (PM2.5) 

นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์ผลกระทบในเชิงลึกแยกตามงวดงานก่อสร้างทั้ง 12 งวดของบริษัท เพื่อระบุช่วงงวดงานขั้นตอนก่อสร้างส่วนใดที่มีการปลดปล่อย Carbon Footprint และ PM2.5 สูงที่สุด ทั้งนี้บริษัทมุ่งมั่นที่จะใช้ข้อมูลเชิงลึกดังกล่าวในการพัฒนากระบวนการก่อสร้าง เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการ ทั้งการส่งเสริมการใช้วัสดุ Low-carbon ในการก่อสร้างบ้านทุกหลัง การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เพื่อลดน้ำหนักวัสดุก่อสร้างโดยรวม (*1) อันมีผลต่อการลด Co2 การบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ที่ Site ก่อสร้าง ตลอดจนการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมและคู่ค้าทางธุรกิจ ผลักดันให้เกิดการใช้วัสดุการก่อสร้างที่ยั่งยืน เพื่อให้กลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการสร้างบ้านในประเทศไทย 

โดยจากผลวิจัยพบว่าแบบบ้าน MODISH 211 (262 ตร.ม.) มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำที่สุดจากแบบบ้านที่ร่วมทดสอบทั้งหมด 4 แบบ โดยมีวัสดุเหลือทิ้งน้อยที่สุด และผลกระทบต่อการเกิดสภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด ตลอดจนปล่อย PM2.5 ในระดับต่ำกว่าบ้านแบบอื่นอย่างมีนัยสำคัญ  ทั้งนี้แบบบ้าน MODISH 211 (262 ตร.ม.)  ยังมีผลกระทบต่อสุขภาพประชากรที่ต่ำมาก ด้วยค่าความสูญเสียสุขภาพ (DALYs: Disability-Adjusted Life Years) เพียง 0.0672 DALYs ตลอดอายุการใช้งาน ซึ่งเทียบเท่ากับการสูญเสียสุขภาพเฉลี่ย 24 วันต่อคน *(2)  ในพื้นที่ใกล้เคียง ถือว่าต่ำกว่าแบบบ้านทั้งหมดที่ร่วมทดสอบ โดยแบบบ้านที่มีผลกระทบต่อสุขภาพประชากรมากที่สุด จะลดอายุขัยเฉลี่ยลงถึง 37 วัน (0.1 ปี) ต่อคน

“ผลการศึกษานี้ไม่เพียงช่วยให้เราเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในกระบวนการก่อสร้าง แต่ยังเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและตอบโจทย์ความยั่งยืนต่อไป โดยปัจจุบัน แลนดี้ โฮม มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมและระบบโครงสร้างเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกค้า พร้อมทั้งพัฒนาทุกขั้นตอนการก่อสร้างบ้าน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ CAP Plus ระบบเติมอากาศบริสุทธิ์ สร้างสภาะวะแรงดันบวก ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 และเชื้อโรคเข้าสู่บ้านได้ตั้งแต่แรก นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ก่อตั้ง พรีคาสท์ โซลูชัน เซ็นเตอร์ (Precast Solution Center) ภายใต้ชื่อบริษัท NOVA Modular ซึ่งเป็นโรงงานผลิตโครงสร้างเสา-คานสำเร็จรูป ปัจจุบันมีโรงงาน 2 แห่ง ได้แก่ โรงงานที่พระราม 2 และโรงงานที่อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี โดยโรงงานเหล่านี้รองรับการปลูกสร้างบ้านในเครือทั้ง 3 แบรนด์ของบริษัทฯ โดยระบบโครงสร้างดังกล่าวจะสามารถช่วยลดปริมาณวัสดุเหลือทิ้ง ลดการปล่อยฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง และสนับสนุนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

ในอนาคต แลนดี้ โฮม มีแผนขยายธุรกิจ “CJ Sun ซึ่งให้บริการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์สำหรับบ้านพักอาศัยและธุรกิจ โดยมุ่งเน้นให้ลูกค้าเปลี่ยนมาใช้พลังงานจากธรรมชาติ ช่วยลดค่าไฟฟ้าในระยะยาว ทั้งนี้ บริษัทฯ มีเป้าหมายในการสนับสนุนให้คนไทยเข้าถึงพลังงานสะอาดได้มากขึ้น และร่วมสร้างสังคมสีเขียวที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคตอย่างแท้จริง” คุณพานิช มณีรัตนะพร ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ กล่าว

หมายเหตุ

(1)* คอนกรีต เหล็กโครงสร้าง และอิฐมวลเบาถูกระบุว่าเป็นวัสดุที่ก่อให้เกิด Carbon Footprint สูงสุด หากสามารถเปลี่ยนมาใช้วัสดุทดแทน หรือลดปริมาณการใช้งาน จะลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมีนัยสำคัญ

(2)* ค่าความสูญเสียสุขภาพเฉลี่ย 24 วันต่อคน คำนวณจากค่า DALYs (Disability-Adjusted Life Years) ซึ่ง 1 DALY เท่ากับการสูญเสียสุขภาพหรือคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์ 1 ปี (365 วัน) ต่อคน ดังนั้น ค่า 0.0694 DALYs ของบ้าน MODISH 211 (262 ตร.ม.) หมายถึงการสูญเสียสุขภาพรวม 0.0672 x 365 = 24.53 วัน ต่อคน ซึ่งสะท้อนผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากกระบวนการก่อสร้างและการใช้วัสดุต่างๆ ในแบบบ้านดังกล่าว

===================================================================================

วีธีการคิดเปรียบเทียบผลกระทบต่ออายุขัย ระหว่าง บ้านหมายเลข 6 MODISH 211 (262 ตร.ม.) และบ้านหมายเลข 8 NEO DELUXE 02 (275 ตร.ม.)

แบบบ้าน No. 6: MODISH 211 (262 ตร.ม.) มีค่า DALYs ต่ำที่สุดที่ 0.0672 DALYs นี่คือแบบบ้านที่ลดผลกระทบต่ออายุขัยได้มากที่สุดในโครงการ เมื่อเปรียบเทียบกับ แบบบ้าน No. 8: NEO DELUXE 02 (275 ตร.ม.) ซึ่งมีค่า DALYs สูงสุดที่ 0.1024 DALYs

Knowledge Etc.