ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษด้านล่าง

กฎหมายระยะร่น ควรรู้ก่อนการสร้างบ้าน

กฎหมายระยะร่น หรือระยะความห่าง ที่ว่างเว้นของการก่อสร้างอาคาร มีหลายรายละเอียดที่ควรรู้ไว้ก่อนสร้างบ้าน

กฎหมายระยะร่น สำหรับการสร้างบ้าน หรือที่เรียกแบบเข้าใจง่ายๆ คือระยะความห่าง ที่ว่างเว้น ของการก่อสร้างบ้านตามที่กฎหมายควบคุมอาคารกำหนดไว้ ว่าจะต้องมีระยะเท่าไหร่ถึงจะเป็นระยะที่เหมาะสม ปลอดภัย และถูกต้องตามกฎหมาย

 

หากใครที่กำลังคิดที่จะสร้างบ้าน แต่ยังไม่รู้ว่าในการสร้างบ้านนั้นมีข้อจำกัดอยู่หลายประการในแง่ของกฎหมายหลายๆ ข้อ ที่เรายังไม่รู้ วันนี้แลนดี้โฮม ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายระยะร่น ฉบับรวบรัดกระชับรายละเอียดให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น

 

สร้างบ้านชิดรั้วบ้านได้ แต่ผนังบ้าน รั้วต้องปิดทึบ

กรณีที่สร้างบ้าน ถ้าเกิดมีการต่อเติมบ้านจนทำให้พื้นที่บ้านต้องชิดรั้วบ้าน สามารถชิดได้แต่ต้องได้รับการยินยอมจากเพื่อนบ้านเป็นลายลักษณ์อักษร ทางที่ดีถ้าไม่อยากมีเรื่องยืดยาวและเป็นปัญหา ให้เว้นระยะห่างตัวบ้านจากรั้วบ้านหรือแนวดิน ไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร แต่ยังคงต้องเป็นผนังทึบเช่นเดิม

ผนังบ้านทึบชิดรั้วได้ แต่ต้องมีหนังสือยินยอมจากเพื่อนบ้าน

ผนังบ้านที่มีประตูหน้าต่าง ต้องมีระยะห่างจากแนวรั้ว อย่างน้อย 2 เมตร

ตัวบ้านชั้น 1 และชั้น 2 จะต้องอยู่ห่างจากรั้วอย่างน้อย 2 เมตร หากเป็นบ้าน 3 ชั้น ต้องอยู่ห่างจากรั้วอย่างน้อย 3 เมตร 

ผนังชั้นที่มีประตูหน้าต่าง ต้องห่างจากแนวรั้ว 2เมตร ตามกฎหมายระยะร่น

จะสร้างบ้านเต็มผืนที่ดินไม่ได้

ไม่ว่าที่ดินของเราจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ขนาดไหน ก็ไม่สามารถสร้างบ้านเต็มพื้นที่ได้ ด้วยกฎหมายระยะร่นที่กำหนดให้ต้องมีระยะห่างจากแนวรั้ว และขอบเขตของตัวบ้านต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 70% ของที่ดิน 

 

จะสร้างบ้านล้ำไปในถนนสาธารณะไม่ได้

เชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบเจอกันได้บ่อยๆ โดยเฉพาะตามซอยเล็กซอยน้อยในกรุงเทพฯ แต่ตามกฎหมายระยะร่นแล้วกำหนดเอาไว้ว่า ตัวบ้านต้องมีระยะห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร โดยวัดจากกึ่งกลางถนนสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร 

กฎหมายระยะร่นตัวบ้านต้องอยู่ห่างกึ่งกลางถนน 3 เมตร

ที่ดินชิดถนนหักมุมจะต้องปาดแนวรั้วด้านละ 4 เมตร

หากบ้านมีที่ดินอยู่ติดมุมถนน โดยมีมุมหักถนน 2 ด้านน้อยกว่า 135 องศาและถนนกว้าง 3 เมตรขึ้นไป จะต้องปาดมุมรั้วด้านละ 4 เมตร เพื่อไม่ให้รั้วบ้านหรือกำแพงบดบังทัศนะวิสัยการมองเห็นของผู้ขับขี่รถยนต์ 

รั้วบ้านอยู่ติดถนนกว้าง 3 เมตร และมีมุมหักน้อยกว่า 135 องศา จะต้องปาดมุมรั้วด้านละ 4 เมตร

ทุกห้องของบ้าน ต้องมีหน้าต่างหรือช่องแสง

การสร้างห้องแต่ละห้องภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำ ห้องครัว ห้องนอน หรือห้องเก็บของ จะต้องมีพื้นที่สำหรับระบายอากาศ ไม่ว่าจะทางประตู หน้าต่าง ช่องแสง ช่องลม รวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 10% ของพื้นที่ในห้องนั้นๆ 

ในหนึ่งห้องต้องมีประตู หน้าต่าง และช่องระบายอากาศ ไม่น้อยกว่า 10% ของพื้นที่

ห้องนอนต้องมีพื้นที่ใช้งานไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร

ห้องนอนจะต้องมีขนาดที่กว้างขวางและโปร่งโล่ง เพื่อให้เกิดสภาวะอยู่สบาย ตรงนี้ก็มีในข้อกฎหมายระยะร่นระบุไว้ว่า ห้องนอนนั้นต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร และมีด้านแคบสุดไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร 

ตามกฎหมายระยะร่นห้องนอนต้องมีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 8 ตารางเมตร

 เพดานห้องน้ำต้องสูงกว่า 2 เมตร

ห้องน้ำใต้บันไดที่มักนิยมสร้างเพื่อเป็นห้องน้ำรวมสำหรับแขก แต่รู้หรือไม่ว่า การสร้างห้องน้ำใต้บันไดนั้นต้องพิจารณาถึงระดับความสูงของเพดานห้องด้วย ซึ่งหากพื้นที่ตรงนั้นมีเพดานด้านที่สูงน้อยที่สุดไม่ถึง 2 เมตรก็ไม่สามารถทำเป็นห้องน้ำเพื่อใช้งานได้

เพดานห้องน้ำต้องมีความสูงไม่ต่ำกว่า 2 เมตร

บันไดของบ้านต้องกว้างมากกว่า 80 เซนติเมตร

บันไดในบ้านจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร และในแต่ละช่วงต้องมีความสูงไม่เกิน 3 เมตร หากมากกว่านี้จะต้องมีชานพักบันได ซึ่งชานพักบันไดต้องมีระยะห่างแนวดิ่งหรือความสูงจากบันไดอีกชั้นไม่น้อยกว่า 1.9 เมตร 

บันไดบ้านต้องกว้าง 80 เซนติเมตร ขึ้นไป แต่ละช่วงสูงไม่เกิน 3 เมตร

ติดเหล็กดัด ต้องมีช่องเปิดด้วย

กรณีที่บ้านติดเหล็กดัด ตั้งแต่ชั้น 2 ขึ้นไป จะต้องเว้นช่องว่างไม่น้อยกว่า 60 x 80 เซนติเมตร เพื่อเป็นการเปิดทางเข้าออกในกรณีที่ต้องกู้ภัยอันเนื่องจากอัคคีภัย

ติดเหล็กดัดตั้งแต่ 2 ชั้น ขึ้นไป จะต้องเว้นช่องเปิด ขนาด 60x80 เซนติเมตร

เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้ที่เราเอามาฝากในครั้งนี้ หากคิดสร้างบ้านหรือต่อเติมที่อยู่อาศัย ควรรู้เรื่องของกฎหมายระยะร่นก่อน “การสร้างบ้าน” เพื่อจะได้สร้างบ้านได้ถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนดไว้

 

หากมีข้อสงสัย สร้างบ้านกับแลนดี้โฮม เรามีบริการให้คำปรึกษาทางด้านงานออกแบบ และงานก่อสร้าง จากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งสถาปนิกผู้ชำนาญการและวิศวกรผู้มากด้วยประสบการณ์ รอคุณอยู่

 

อ้างอิงจาก : บ้านและสวน , พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร , กฎหมายควบคุมอาคาร

สร้างบ้าน สร้างดี แลนดี้ โฮม

 

สาระน่ารู้ อื่นๆ